ชีวประวัติหลวงพ่อประเทือง อติกกันโต

หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต พระครูวิทิตพัชราจาร วัดหนองย่างทอย
(วัดเทพประทานพร)  ต.หนองย่างทอย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
ชาติภูมิ
หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๑ (วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีมะโรง) เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อ
งร่วมอุทรเดียวกัน ๕ คน ซึ่งเป็นชาย ๒ คน หญิง ๓ คน ของนายทำ นางมาก ยืนยง ณ บ้านคลองเม่า หมู่ที่ ๕ ตำบลโคนสะลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
เริ่มการศึกษา
เมื่อเจริญวัยสมควรได้รับการศึก
ษาได้แล้ว บิดามารดานำไปเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดคลองเม่า ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น ครั้นจบการศึกษาแล้ว แม้จะมีความตั้งใจปรารถนาใคร่จะเล่าเรียนต่อก็ไม่มีโอกาสเนื่องจากฐานะทางครอบครัวยากจน ประกอบอาชีพกสิกรรม และไม่เอื้ออำนวยโดยประการทั้งปวงจึงอยู่ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพเหมือนลูกหลานตามชนบททั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อบุพพการีที่ได้โอบอุ้มอบรมเลี้ยงดู สั่งสอนมาด้วยความรัก ความเมตตาเอื้ออาทร และอีกประการหนึ่งก็เห็นว่าท่านเป็นบุตรคนสุดท้องที่พ่อแม่หวังจะได้พึ่งในบั้นปลายแห่งชีวิตต่อไปด้วย
อพยพครอบครัว
ในขณะที่อายุได้ ๑๔ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ จังหวัดลพบุรีได้ประสบอุทกภัยคร
ั้งใหญ่ขึ้นโดยน้ำได้ท่วมหนักเป็นประวัติการณ์ถึงหลังคาบ้านไปทั่วทุกหมู่บ้าน ข้าวกล้านาล่ม เสียหายอย่างย่อยยับ แรงงานจากแรงคนที่ได้ลงแรงไป ก็มาสิ้นสลายไปกับสายน้ำอันหฤโหดอย่างหมดสิ้น ปลายทางที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง หมดหนทางที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว บิดามารดา จึงใคร่ครวญตัดสินใจอพยพครอบครัวทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องอันเป็นถิ่นกำเนิด โดยย้ายไปอยู่ที่ตำบล เขาช่องแค จังหวัดนครสวรรค์เพื่อเริ่มต้นชีวิต ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า
สู่ร่มกาสาวพัสตร์
เมื่ออพยพครอบครัวมาอยู่นครสวรร
ค์ ได้ประกอบสัมมาชีพ ยกฐานะครอบครัวมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่ง บิดามารดาได้ปรารถนาที่จะให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามาเณร เพราะเล็งเห็นว่า การบวชเณรเป็นโอกาสที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมวินัย ทั้งเป็นการผูกญาติสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นพระเพณีนิยมไปด้วย ซึ่งท่านเองเมื่อรู้เรื่องนี้แล้วก็ไม่ขัดข้องยินดีปฏิบัติตามความประสงค์ของบุพพการีทุกประการ
บิดามารดา ได้นำไปบรรพชาที่วัดหนองแขม ต.ทุ่งทะเล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ กับพระอาจารย์อ่อน เจ้าอาวาสวัดหนองแขม ผู้มีศักดิ์เป็นอาของท่าน ให้ช่วยดูแลอบรมสั่งสอน พระอาจารย์อ่อนรูปนี้เป็นพระสงฆ
์ผู้คงแก่เรียน ทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานและแก่กล้าสรรพวิชาอาคมต่างๆอีกด้วย ครั้นบรรพชาแล้วในพรรษาแรกๆ ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และวิชาอาคมกับหลวงอาพระอาจารย์อ่อน จนเป็นที่พอใจแล้ว หลวงอาคิดจะทดสอบหลานจึงคิดทดสอบความอดทนและวิชาที่สั่งสอนให้ แล้วออกอุบายที่จะพาไปเที่ยวโดยให้เตรียมข้าวของเท่าที่จำเป็นสำหรับในการเดินธุดงค์ออกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อน ในปีนั้น เมื่ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์อ่อน ได้นำสามเณรประเทืองเดินธุดงค์ไปยังจุดหมายปลายทางเพื่อนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี แม้ว่ายังเป็นสามเณรอายุน้อยนิด ก็มีความอดทน แบกกลด ถือกรรมฐานกับพระอาจารย์อ่อนไปด้วย การเดินป่าในสมัยนั้น ประสบการความยุ่งยากลำบากเหลือเข็ญ ยังไม่มีรถยนต์ เป็นพาหนะเหมือนสมัยนี้ อีกทั้งตามป่าเขาลำเนาไพรยังชุกชุมไปด้วยไข้ป่า สัตว์ร้ายนานาชนิด เดินขึ้นเขาลงห้วยหาบ้านผู้คนก็ยากเย็นเต็มที แม้ว่าในตอนออกเดินทางจากวัดไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นเข้มแข็ง แต่พอนานเข้าเอาเข้าจริงๆ แล้ว ได้สัมผัสกับความอดอยาก ลำบากในป่าเขา ก็เกิดอาการท้อแม้ใจขึ้นมาเหมือนกัน บางครั้งคิดอยากจะกลับวัดกลับบ้าน หลวงอาก็ปลอบโยนให้กำลังในอยู่เสมอๆ จะทำอย่างไรได้ เมื่อตัดสินในแล้วก็ต้องสู้ต่อไปให้ถึงที่สุด สำหรับการเดินธุดงค์นั้น พระอาจารย์อ่อนมีกฎอยู่ว่าห้ามถามห้ามพูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นและให้เฉยๆ ไว้ เดินตามหลวงอาไปอย่างเดียว พอถึงเวลาปักกลด หลวงอาก็ปักให้ (กลดสมัยนั้น คล้ายกับมุ้ง ๔ สาย) พอปักกลดเสร็จก็แยกไปปักอีกที่หนึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๐วา ตกกลางคืนก็ร้องไห้แต่ไม่กล้าร้องเสียงดัง กลัวหลวงอาดุเอา ทำให้เกิดความกลัว คิดไปต่างๆ จิตใจก็ไม่สงบ ยิ่งได้ยินเสียงเสือร้อง ก็ร้องไห้ตามเสือไปด้วย คิดจะกลับวัดอย่างเดียว ที่ยิ่งไปกว่านั้น พอรุ่งเช้าอาหารบิณฑบาตก็ไม่มีฉัน เพราะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน จนบางครั้งต้องอาศัยข้าวตากแห้งที่เตรียมมาขบฉัน พอประทังชีวิตไปวันๆ หนึ่งก็เคยมี ครั้นรุ่งเช้าหลวงอาชวนออกเดินบิณฑบาต ก็คิดไปว่าป่าทั้งป่าจะไปบิณฑบาตที่ไหนกัน มองไปข้างไหนก็เห็นแต่ป่าทั้งนั้นแต่ก็ไม่กล้าถาม โดยหลวงอาสั่งว่า ทำอะไรก็ให้ทำตาม พอเดินไปถึงต้นไม้ใหญ่ หลวงอาเปิดบาตรไว้สักครู่แล้วก็ปิดบาตร เดินมาที่อีกต้นหนึ่งก็ทำเหมือนเดิมอีก ก็ปฏิบัติตามเหมือนหลวงอาทุกอย่าง ถึงจะสงสัยก็ไม่กล้าถามอยู่ดี สามเณรประเทือง คิดอยู่ในใจว่า หลวงอาทำอะไรแปลกๆ หรือท่านจะรู้เห็นอะไรที่เราไม่รู้ก็เป็นได้ ครั้นกลับมาถึงที่พักก็เปิดบาตรดู ว่ามีอะไรอยู่บ้างเห็นแต่ความว่างเปล่าแต่ก็ยังไม่กล้าถามอยู่ดีว่าท่านทำเพื่ออะไร แล้วหลวงอาก็สั่งให้เอาน้ำล้างบาตรนั้นมาดื่มกิน พอดื่มแล้วเหมือนกับว่า รู้สึกอิ่มอย่างแปลกประหลาดคล้ายกับว่าได้ฉันข้าวอย่างนั้นแหล่ะ สามารถอยู่ได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกหิวกระหายแต่อย่างใดเลย เมื่อปฏิบัติอยู่ป่านานวันเข้า อาหารที่เตรียมมาก็หมดไปโดยปริยาย สิ่งที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง อาหารของหลวงอาไม่รู้จักหมด ครั้นถามท่านก็โดนดุว่าไม่ใช่กิจที่จะต้องรู้ ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้ต้องปฏิบัติอีกมาก ท่านเปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือกับไม้ในป่าทั้งหมด จึงไม่กล้าที่จะถามท่านอีก จะถามได้ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมเท่านั้น พอพูดจบท่านก็หยิบเอามาจากย่ามให้ฉันเป็นดังนี้อยู่เสมอมิได้ขาด ได้แต่เก็บความสงสัยไว้ในใจอยู่ตลอดมา ว่าทำไมข้าวตากแห้งของหลวงอาไม่รู้จักหมดสักที ท่านเอามาจากไหน ท่านมีคาถาอาคมอะไรหรือ
กลับมาเยี่ยมบ้าน
หลายปีที่สามเณรประเทือง เดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์อ่อน ก็ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมอย่างเต็ม
กำลังความสามารถ แต่ก็หลายครั้งเหมือนกัน ที่คิดอยากจะกลับบ้านไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่และญาติๆก็ยังไม่มีโอกาสสักครั้ง วันหนึ่งได้รับอนุญาตจากหลวงอาว่าถึงเวลาอันควรแล้วอนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้แล้ว พอกลับมาถึงวัดหนองแขม ก็กราบลาพระอาจารย์อ่อนไปเยี่ยมบ้านทันที ได้พูดคุยสนทนาเล่าเรื่องราวต่างๆ ในการออกธุดงค์เดินป่าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อโยมทั้งสองได้ฟังแล้วก็เกิดสงสารห่วงใยอย่างจับใจ ขอร้องอ้อนวอนให้สามเณร ลูกชายลาสิกขากลับมาอยู่กับพ่อแม่ดีกว่า เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตรายในระหว่างอยู่ป่า ในตอนแรกก็เห็นด้วยกับความคิดของโยมพ่อโยมแม่ จึงตัดสินใจที่จะลาสิกขาอย่างแน่นอน ครั้นกลับมาได้ถึงวัดได้กราบเรียนให้หลวงอาทราบเรื่องเอาเข้าจริงๆ แล้ว ได้รับโอวาทธรรมจากหลวงอาว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานเท่านั้น ที่จะได้กุศลแรงกล้าที่สุด ไม่เพียงแต่บุคคลผู้ปฏิบัติเท่านั้น แม้ผู้เป็นบิดามารดาชื่อว่าผู้ได้เป็นญาติพระศาสนาก็พลอยได้บุญกุศลไปด้วย ได้ฟังโอวาทธรรมดังนั้น ท่านก็เห็นด้วยแล้วตัดสินใจที่จะไม่ยอมลาสิกขา ยังคงเดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์อ่อนต่อไปอีกหลายปี พระอาจารย์อ่อน เป็นพระที่นิยมศึกษาชอบแสวงหาความรู้และมีวิทยาคมแก่กล้า ทั้งชอบการปฏิบัติธรรมได้ถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมให้สามเณรประเทืองทุกอย่างอย่างเช่น การหุงสีผึ้ง วิชานะหน้าทอง เป็นต้น
ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
พระอาจารย์อ่อน นับว่าเป็นพระที่เชี่ยวชาญเวทวิ
ทยาคมมากทีเดียว และที่สำคัญยังมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ยอดพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้เดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเดิมอยู่เป็นประจำ เมื่อกลับจากเดินธุดงค์แล้ว หลวงอาอ่อน ได้นำสามเณรประเทือง เดินทางไปวัดหนองโพธิ์ ฝากฝังไว้เป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้ต้มน้ำร้อนน้ำชาอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อเดิมตลอดเวลา หลวงพ่อเดิมเรียกท่านว่า “เณรจ้อน” เพราะท่านตัวเล็กกว่าสามเณรในวัดรุ่นเดียวกันทั้งหมด ทั้งยังเมตตาแนะนำสั่งสอนวิชาอาคมต่างๆ ให้อยู่เสมอ ในขณะที่อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิมอยู่นั้น สามเณรประเทืองได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมอะไรบ้าง เราท่านคงไม่อาจจะทราบได้ แต่เท่าที่สอบถามศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อประเทือง ได้ความว่าท่านไม่เคยพูดว่า หลวงพ่อเดิมถ่ายทอดวิชาอะไรให้ เพียงแต่กล่าวอยู่เสมอว่า วิชาอาคม ที่หลวงพ่อเดิมสั่งสอนนั้นว่าวิชาอะไรก็ตามตะเข้มขลังได้ต้องอาศัยพลังจิตเป็นกำลังสำคัญ หากเราฝึกจิตสมบูรณ์แล้วก็สามารถปลุกเสกอะไรให้เกิดพลังเข้มขลังได้ จากพื้นฐานวิทยาคมที่หลวงพ่อเดิมแนะนำสั่งสอนให้กับสามเณรประเทืองนั้นท่านก็ยึดถือปฏิบัติเป็นแบบครูบาอาจารย์ มาจนกระทั่งเป็นหลวงพ่อประเทือง ถึงทุกวันนี้
อุปสมบทปฏิบัติธรรมในสำนักหลวงพ
่อพรหม วัดช่องแค 
เมื่ออกพรรษาแล้ว สามเณรประเทืองก็ตัดสินใจลาสิกข
าถือเพศฆราวาสวิสัย ไปประกอบสัมมาชีพทำไร่ มันแกว อยู่ที่บ้านหนองกระทะ ตำบลช่องแค จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งอายุได้ ๒๐ ปี ในพ.ศ.๒๔๙๑ ก็ปรารถนาจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมา วัดช่องแค นครสวรรค์ โดยมีท่านพระครูทอง วิสาโร เจ้าคณะอำเภอตาคลีในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์มีพระอาจารย์แบ๊ง วัดช่องแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาตี่ วัดเขาวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในช่วงที่อยู่จำพรรษาวัดช่องแค เป็นห้วงเวลาเดียวกัน กับหลวงพ่อพรหม ยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดนั้นอยู่ นับว่าเป็นบุญโชคของท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน สรรพวิทยาคมในสำนักหลวงพ่อพรหมแต่เป็นที่น่าเสียดาย ว่า ท่านได้ครองสมณเพศอยู่ได้เพียงพรรษาเดียว ก็จำต้องลาสิกขาเพราะถูกกฎหมายเกณฑ์ทหาร ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ที่เขาน้อย จังหวัดลพบุรี อยู่ได้ ๒ ปีเศษ แล้วสมัครเป็นสารวัตรทหารอยู่ที่ลพบุรี ครั้นเบื่อหน่ายอาชีพราชการ ก็ลาออกมาทำงานชลประทานซีเมนต์อยู่ช่องแค นครสวรรค์ หลังจากใช้ชีวิตฆราวาสเพศวิสัยอยู่ ๘-๙ ปี ก็เบื่อหน่ายปรารถนาจะบวชอีกสักครั้งซึ่งในขณะนั้นมีอายุได้ ๒๙ ปี พ.ศ.๒๔๐๐ เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษไปด้วยก็ตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโนทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมณฉายาว่า อติกฺกนฺโต แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (หลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางเ**้ย)
ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรม
เนื่องจากหลวงพ่อประเทืองท่านมี
อุปนิสัยชอบความสงบวิเวกใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียนมาแต่เดิม ครั้นได้กลับมาบวชใหม่อีกครั้ง ก็มีความตั้งใจที่วัดโพธิ์ทอง พอออกพรรษาแล้วได้เล็งเห็นว่าวัดไม่เป็นที่สงบเท่าที่ควร เพราะท่านไม่ชอบที่จะระคนด้วยหมู่คณะจึงปลีกตนออกปฏิบัติกราบลาพระอุปัชฌาย์ออกเดินธุดงค์ แสวงหาความรู้กับครูบาอาจารย์ เพื่อศึกษาสรรพวิชาเพิ่มเติม หลวงพ่อประเทือง ได้เดินธุดงค์ไปตามเขาทั่วภาคตะวันออกเฉียงจรดไปถึงถ้ำนาแก นครพนม ได้พบกับพระป่านักปฏิบัติหลายรูปทั้งได้ขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จนกระทั่งได้มีโอกาสพบกับอาจารย์บุญลือเป็นฆราวาสชาวเขมร ผู้เก่งกล้าในด้านไสยศาสตร์ ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาถอนคุณไสยต่างๆ จนเป็นที่พอใจแล้วเดินธุดงค์ต่อไปอีก หลังจากนั้นเดินธุดงค์กลับมานมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี ซึ่งในช่วงนั้นเอง ได้เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นว่าเล่น ชาวบ้านก็ปลื้มในที่ได้พบพระธุดงค์ ได้ขอร้องให้ท่านโปรดเมตตาช่วยอนุเคราะห์รักษาโรค ท่านก็ยินดีอยู่ช่วยรักษาให้โดยใช้สมุนไพรตามที่ได้ศึกษามาประกอบมาปรุงยาต้มให้ชาวบ้านกินกันจนหายเป็นปกติ ยังความปลื้มปิติเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของคนในหมู่บ้านกันทั่ว
สืบสายพุทธาคม
ความเป็นหนึ่งในเวทวิทยาคมของหล
วงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต ในปัจจุบันย่อมเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ศิษยานุศิษย์และผู้นิยมวัตถุมงคล เพราะวัตถุมงคลหรือเครื่องรางวัลขลังของท่านนั้น ที่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อหรือคณะศิษย์สร้างถวายก็ตาม โดยท่านเป็นผู้ปลุกเสกล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์
ปาฏิหาริย์ล้ำเลิศมากมาย
การกล่าวได้อย่างมั่นใจเช่นนี้ก
็เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากไปด้วยครูบาอาจารย์ แสวงหาความรู้เล่าเรียนศึกษาพุทธาคมอย่างไม่รู้จบ และเหตุที่ครูบาอาจารย์ของท่านก็ล้วนแต่เลื่องลือกิตติศัพท์เป็นที่เคารพของสาธุชนทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปี ที่ออกเดินธุดงค์ ก็ได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ต่างๆ มามากมายเท่าที่ได้กราบนมัสการเรียนถามว่ามีพระเกจิอาจารย์รูปใด บ้างที่ท่านเคยเป็นศิษย์ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมซึ่งท่านได้ลำดับครูบาอาจารย์ดังนี้
๑. พระอาจารย์อ่อน วัดหนองแขม นครสวรรค์ (มีศักดิ์เป็นอา ได้ศึกษาตั้งแต่เป็น สามเณร)
๒. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์ (เมื่อครั้ง ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้เป็นสามเณ
รที่วัดหนองโพธิ์)
๓. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ (ศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา ตอนบวชครั้งแรก)
๔. พระอาจารย์เล็ก วัดคลองเม่า ลพบุรี
๕. หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง นครสวรรค์ (เมื่อครั้งอุปสมบทอยู่วัดโพธิ์
ทอง ซึ่งหลวงพ่อเล็กรูปนี้ เป็นศิษย์ที่สืบทอดพุทธาคมมา จากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย(วัดคล่องด่าน)
๖. อาจารย์บุญลือ (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นชาวเขมร (เมื่อคราวออกธุดงค์)